เหี้ย-วรนุช
นายชัชวาล พิศดำขำ ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
เสนอให้ใช้เรียกชื่อใหม่ของ "เหี้ย" สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง
ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Varanus salvator
เป็นภาษาละติน
อ่านออกเสียง วอ-ระ-นุส คล้องจองกับชื่อภาษาไทยว่า
วอ-ระ-นุช
เหตุผลเพื่อให้ฟังไพเราะขึ้น
และจะได้ไม่นำชื่อสัตว์ชนิดนี้ไปเป็นคำด่าทอ
เหี้ยเป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่ม
Monitor lizard จัดอยู่ในวงศ์ VARANIDAE มีชื่อสากลว่า Water
Monitor
มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รวมทั้งอินเดียและศรีลังกา
ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
ชอบอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ
พบได้ทั้งในบริเวณแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น
ป่าจากและป่าชายเลน
ว่ายน้ำเก่งกว่าสัตว์ในสกุลเดียวกัน ดำน้ำได้นาน
เวลาตกใจหรือเจอศัตรูจะหนีลงน้ำไปอย่างรวดเร็ว
รูปร่างคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่
มีลายดอกสีเหลืองพาดขวางทางยาว ปลายลิ้นแยกเป็นสองแฉกคล้ายงู
ใช้สำหรับรับกลิ่น
ลักษณะคล้ายคลึงกับ ตะกวด เห่าช้าง
และตุ๊ดตู่
ความยาว 2.5-3 เมตร หางยาวประมาณ 70
ซ.ม.
ชอบกินของเน่าเปื่อย เศษซากอาหาร บางครั้งกินสัตว์เป็นๆ เช่น ไก่ เป็ด
ปู หอย งู หนู นก ปลา
และไข่ของสัตว์ต่างๆ
จะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม
บางครั้งมีการต่อสู้รุนแรงเพื่อแย่งชิงตัวเมีย
ออกลูกเป็นไข่คราวละ
15-20 ฟอง ใช้เวลาฟัก 45-50 วัน ไข่รียาว บางครั้งจะมีสีขาวขุ่น
ในแต่ละปีจะสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง หรืออาจมากกว่านั้น
ในประเทศไทย
สัตว์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวเหี้ยยังมีอยู่อีก 3 ชนิดคือ
- ตะกวด
(Varanus bengalensis nebulosus) ภาษาอีสานเรียกว่า "แลน"
คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเหี้ย
แต่ตะกวดจะมีสีเรียบออกโทนสีน้ำตาลทั้งตัว
ขณะที่ลำตัวของตัวเหี้ยเป็นสีดำมีลายดอกสีเหลืองเรียงอยู่อย่างมีระเบียบ
และรูจมูกของตะกวดอยู่ห่างจากปลายปากมาก
ต่างจากตัวเหี้ยซึ่งรูจมูกอยู่ใกล้
- เห่าช้าง (Varanus
rudicollis) พบทางแถบตอนใต้ของประเทศไทยเท่านั้น เกล็ดที่คอดูคล้ายๆ
หนามของทุเรียน ตัวสีดำมัน มีจุดสีเหลืองบ้างประปราย ชื่อได้จากเสียงที่ใช้ขู่ศัตรู
ฟังดูคล้ายเสียงขู่ของงูเห่า
- ตุ๊ดตู่ (Varanus
dumerilii) เป็นชนิดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย เกล็ดที่คอแบนราบมีขนาดใหญ่
เมื่อออกมาจากไข่ 1-2 สัปดาห์แรกจะมีสีสันที่หัวเป็นสีส้ม จากนั้นสีจะค่อยๆ
จางหายไป นิสัยรักสงบ ไม่ดุร้าย
ปัจจุบันสัตว์สองสกุลหลังถูกคุกคามอย่างหนัก
ทั้งจากการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
และการล่าจากพวกพ่อค้าสัตว์ป่า
เหี้ยถูกนำมาบริโภคโดยนิยมรับประทานในภาคเหนือ
เรียกว่า "แกงอ่อมแลน" รสชาติเผ็ด จัดจ้าน
เนื้อเหี้ยจะมีรสชาติคล้ายเนื้อไก่บ้าน แต่จะแน่นกว่ามาก
ส่วนโคนหางเรียกว่า
"บ้องตัน" จะอร่อยที่สุด เพราะเนื้อแน่น
มีกระดูกน้อย
ในอดีตชาวบ้านมักเลี้ยงเป็ดไก่ไว้บริเวณบ้าน
ตัวเหี้ยจะมาขโมยเป็ดไก่ของชาวบ้านลากไปกินในน้ำ
ทำให้กลายเป็นสัตว์ที่ผู้คนเกลียดมาก จนถูกนำมาใช้เรียกคนไม่ดี
และกลายเป็นคำด่าทอ
อีกคำหนึ่งที่ด่าทอกันก็คือ "อีดอก"
เพราะว่าลายบนตัวเหี้ยนั้นจะเป็นลายดอก
ต่อมาคำนี้กลายเป็นคำด่าผู้หญิงที่ประพฤติไม่ดี
และเพราะเชื่ออีกว่า
ถ้าเหี้ยขึ้นบ้านใครบ้านนั้นจะมีแต่โชคร้าย
จึงเปลี่ยนชื่อเรียกให้ฟังแล้วมีสิริมงคลว่า
"ตัวเงินตัวทอง"
ดังนั้นใครโดนด่าว่า "เหี้ย" ก็อย่าน้อยใจละกันนะ
ปล.คำหยาบในที่นี้เรียกสัตว์จำเพาะไม่ได้หยาบคายแต่อย่างใด
มีไว้เพื่อการศึกษา