PARP-RIDER CENTRE
ยินดีต้อนรับสู่ ห้องเรียน parp-rider จ้า

สำหรับ ปี 2553 นี้
พวกเราก็ขอ ให้ทุกท่านมีความสุขไปตลอดปี คิดสิ่งใดสมปรารถนา
ทางเว็บไซต์ ก็จะพยายามหาความรู้ ดีๆ มาฝากอยู่เสมอๆนะคะ
สำหรับตอนนี้เราก็เปลี่ยนธีมใหม่ ไฉไลกว่าเดิมแล้วขอเชิญติชมได้เลยนะคะ
รับสมัครทีมงาน
http://parp-rider.nsguru.com/posting.forum

DR_Pick/ผู้อำนวยการปาร์ปไรเดอร์
PARP-RIDER CENTRE
ยินดีต้อนรับสู่ ห้องเรียน parp-rider จ้า

สำหรับ ปี 2553 นี้
พวกเราก็ขอ ให้ทุกท่านมีความสุขไปตลอดปี คิดสิ่งใดสมปรารถนา
ทางเว็บไซต์ ก็จะพยายามหาความรู้ ดีๆ มาฝากอยู่เสมอๆนะคะ
สำหรับตอนนี้เราก็เปลี่ยนธีมใหม่ ไฉไลกว่าเดิมแล้วขอเชิญติชมได้เลยนะคะ
รับสมัครทีมงาน
http://parp-rider.nsguru.com/posting.forum

DR_Pick/ผู้อำนวยการปาร์ปไรเดอร์
PARP-RIDER CENTRE
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

PARP-RIDER CENTRE

ศุนย์รวมความรู้ ข่าวสารการศึกษา สำหรับทุกเพศทุกวัย
 
บ้านบ้าน  PortalPortal  GalleryGallery  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  
Latest topics
» สภาประชาชน
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud EmptySun Dec 22, 2013 9:33 pm by ภารโรงโรคจิต

» สมาคมคนรักฟุตบอล
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud EmptyMon Mar 07, 2011 9:43 pm by ภารโรงโรคจิต

» สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔ ค่ะ
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud EmptyMon Mar 07, 2011 9:38 pm by ภารโรงโรคจิต

» [15+] รถไฟฟ้ามาวินนะเธอ
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud EmptyWed Feb 23, 2011 9:20 am by ผู้มาเยือน

» แนะนำโรงเรียน มัธยมใน จ.นนทุบรีจ้า
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud EmptyMon Dec 20, 2010 3:24 pm by fah_pretty007

» @ Home Tutor เปิดสอน คณิต - วิทย์ - อังกฤษ ป.1 - ม.6
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud EmptyMon Dec 20, 2010 3:07 pm by fah_pretty007

» เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต (ชีวะ)
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud EmptyMon Oct 25, 2010 5:54 pm by ผู้มาเยือน

» มาทำความรู้จัก"ดราม่า"กัน
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud EmptyWed Sep 08, 2010 7:18 pm by bponggod

» Lee รายงานตัวครับ
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud EmptyWed Sep 08, 2010 7:11 pm by bponggod

Navigation
 Portal
 Index
 รายชื่อสมาชิก
 ข้อมูลส่วนตัว(Profile)
 ช่วยเหลือ
 ค้นหา
Forum
Affiliates
free forum

Poll
คุณพอใจกับธีมใหม่ไหม?
1.พอใจ
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud Vote_lcap37%ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud Vote_rcap
 37% [ 255 ]
2.เฉยๆ
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud Vote_lcap25%ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud Vote_rcap
 25% [ 174 ]
3.ไม่พอใจ
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud Vote_lcap37%ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud Vote_rcap
 37% [ 255 ]
คะแนนทั้งหมด : 684
clock

 

 ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud

Go down 
3 posters
ผู้ตั้งข้อความ
Kidz
เด็กใหม่
เด็กใหม่



จำนวนข้อความ : 8
หน่วยกิต : 5358
ระดับชั้น : 0
Join date : 30/09/2009

ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud   ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud EmptyThu Oct 08, 2009 6:28 pm

แนวคิดที่สำคัญของทฤษฎี
แนวคิดที่ สำคัญ ฟรอยด์ เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก ซึ่งมักจะ ผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปาก หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจใน ด้านต่างๆ เช่น โรคจิต โรค ประสาท เป็นต้น เขาเป็นบุคคลแรกที่ได้อธิบายทฤษฎีจิตวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับ บุคลิกภาพซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อม กับแรงขับทางสัญชาตญาณ(Instinctual drive)และแรงขับดังกล่าวเป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนที่ ได้ อันเป็นความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลจากความรู้ทางฟิสิกส์ จึงทำให้เชื่อ ว่าจิตเป็นพลังงานรูปหนึ่ง ที่สามารถเปลี่ยนแปลงและไม่หยุดนิ่ง (Psycho-Dynamic) สัญชาตญาณดัง กล่าว ได้แก่
สัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (Eros or Life) เป็น สัญชาตญาณที่แสดงออกมาในรูปแบบของสัญชาตญาณทางเพศ (Sexual Instinct) แต่ ฟรอยด์ไม่ได้หมายถึงความต้องการทางเพศตามความเรียกร้องทางด้านสรีระเท่า นั้น แต่ยังรวมถึงสัญชาตญาณที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดและเป็นสัญชาตญาณ ที่แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาและความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจในรูปแบบ ต่างๆ และสัญชาตญาณในการป้องกันตนเอง อันเป็นสัญชาตญาณที่ทำให้มนุษย์แสวงหา ความพึงพอใจให้แก่ตนเองและสัญชาตญาณแห่งความ ตาย (Thanatos or Death instinct) ที่แสดงออกมาในรูปของสัญชาตญาณในการทำลาย หรือความก้าวร้าว ( Destructive instinct or aggressive instinct ) ฟรอยด์มองธรรมชาติในแง่ลบ (Pessimism) กล่าวคือ มนุษย์ไม่มี เหตุผล (Irrational) ไม่มีการขัดเกลา (Unsocialized) โดยมุ่งที่จะตอบสนอง และแสวงหาความพึงพอใจให้กับตนเองเป็นสำคัญ (Self-gratification) นอกจาก นี้ ฟรอยด์ยังได้อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องความหมายของสัญชาตญาณพื้นฐานของ มนุษย์ว่าสัญชาตญาณ จะแสดงออกมาในรูปของพลังทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพลังขับทางเพศเรียกว่า พลังลิบิโด (Libido)ที่ทำให้มนุษย์ มีความปรารถนาและความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจ ในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถเคลื่อนที่ เปลี่ยนรูป และสามารถจะเคลื่อนที่ไปตาม ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามระยะเวลาของพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง และยังสามารถเคลื่อนที่ไปยังวัตถุ หรือบุคคลนอกตัวเราได้ เช่น หากพลังลิบิโด เคลื่อนไปอยู่ที่แม่ ก็จะทำให้เด็กเกิดความรักและความหวงแหนแม่ เป็นต้น
การทำงานของจิตแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
1. จิตไร้สำนึก ( Unconscious Mind ) เป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะพฤติกรรม บางอย่างที่บุคคลแสดงออกไปโดยไม่รู้ตัว ที่เกิดมาจากพลังของจิตไร้สำนึกซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงออกไปตาม หลักแห่งความพึงพอใจของตน และการทำงานของจิตไร้สำนึกเกิดจากความ ปรารถนา หรือความต้องการของบุคคลที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก ที่ไม่ได้รับการยอม รับ เช่น การถูกห้าม หรือถูกลงโทษ จะถูกเก็บกดไว้ในจิตส่วนนี้ ซึ่งเป็นกระบวน การปรับตัวเมื่อเกิดความขัดแย้งทางจิตที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของ มนุษย์ที่แสดงออกมาโดยไม่รู้ตัว เช่น การพูดพลั้งปาก ความฝัน เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งที่เก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึกอาจมีอิทธิพลต่อการทำงานของร่าง กาย ทำให้ร่างกายไม่ปฏิบัติหน้าที่ไปตามแรงกระตุ้น เช่น เด็กที่เก็บกดความ รู้สึกมุ่งร้ายในเรื่องเพศในวัยเด็ก เมื่อเติบโตขึ้นก็อาจหมดความรู้สึกทาง เพศได้ ส่วนจิตไร้สำนึกเปรียบเสมือนก้อนน้ำแข็ง ส่วนใหญ่ที่อยู่ใต้ผิว น้ำ โดยมีจิตสำนึก (Conscious Mind) เป็นส่วนของน้ำแข็งที่อยู่เหนือน้ำที่มีอยู่เพียงเล็กน้อย
2. จิตสำนึก ( Conscious Mind ) ซึ่งเป็นสภาวะที่บุคคลรับรู้ตามประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่บุคคลจะมีการรู้ตัว ตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ คิดอย่างไรเป็นการรับรู้โดยทั่วไป ของมนุษย์ ที่ควบคุมการกระทำส่วนใหญ่ให้อยู่ในระดับรู้ตัว (Awareness) และ เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาโดยมีเจตนาและมีจุดมุ่งหมายจิตสำนึกเป็นส่วนที่ทำ ให้บุคคลมีพฤติกรรมสอดคล้องกับหลักความเป็นจริงในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาศัยหลักแห่งเหตุผล และศีลธรรมที่ตนเองเชื่อถือเพื่อเป็นแนวทางในการ แสดงพฤติกรรม
3. จิตก่อนสำนึก ( Preconscious Mind ) เป็น ส่วนของประสบการณ์ที่สะสมไว้แต่มีลักษณะเลือนลาง เมื่อถูกสภาวะหรือสิ่ง กระตุ้นที่เหมาะสม หรือเมื่อบุคคลต้องการนำกลับมาใช้ใหม่ก็สามารถระลึกได้ และสามารถนำกลับมาใช้ในระดับจิตสำนึกได้ และเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ชิดกับจิต รู้สำนึกมากกว่าจิตไร้สำนึก
จะเห็นได้ว่าการทำงานของจิตทั้ง 3 ระดับจะมาจากทั้งส่วนของจิตไร้สำนึกที่มีพฤติกรรม ส่วนใหญ่เป็นไปตามกระบวนการขั้นปฐมภูมิ (Primary Process)เป็นไปตามแรงขับสัญชาตญาณ (Instinctual Drives) และเมื่อมีการรับรู้กว้างไกลมากขึ้นจากตนเองไปยังบุคคลอื่นและสิ่งแวด ล้อม พลังในส่วนของจิตก่อนสำนึกและจิตสำนึก จะพัฒนาขึ้นเป็นกระบวนการขั้นทุติยภูมิ (Secondary Process)
โครงสร้างของบุคลิกภาพ (Structure of Personality)
ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพจะประกอบด้วย อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) ดังแสดงในรูปที่ 5
















รูปที่ 5 แสดงลักษณะโครงสร้างของบุคลิกภาพของ Sigmund Freud

โครงสร้างบุคลิกภาพ มีรายละเอียดดังนี้
1. อิด (Id) จะเป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่ เกิด Id ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ (Instinct) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบ สนองความต้องการ ความสุข ความพอใจ ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ลดความเครียด ที่เกิดขึ้น การทำงานของ Id จึงเป็นไปตามหลักความพอ ใจ (Pleasure Principle) ที่ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมตามความเป็นจริง จะเป็นไปในลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นปฐม ภูมิ (Primary Process of Thinking) เช่น เด็กหิวก็จะร้องไห้ทันที เพื่อตอบ สนองความต้องการของเขา และส่วนใหญ่ที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึก
2. อีโก้ (Ego) จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน อิด และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง และขอบเขตที่สังคมกำหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็นใคร Egoขึ้น อยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle)ที่มีลักษณะของการใช้ความ คิดในขั้นทุติยภูมิ (Secondary Process of Thinking) ซึ่งมีการใช้เหตุผล มี การใช้สติปัญญา และการรับรู้ที่เหมาะสม และอีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่อยู่ใน ระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่
3. ซูเปอร์อีโก้(Superego)นั้น เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ผลัก ดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม จริยธรรมที่พัฒนา มาจากการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะรับเอาค่านิยม บรรทัดฐานทางศีลธรรมจรรยา และ อุดมคติที่พ่อแม่สอนเข้ามาไว้ในตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เด็กมีอายุ ประมาณ 3 – 5 ขวบ (ระยะ Oedipus Complex) และ เด็กจะพัฒนาความรู้สึกเหล่านี้ไปตามวัย โดยมีสภาพแวดล้อมทางบุคคลเป็นองค์ ประกอบสำคัญการทำงานของ Superego จะขึ้นอยู่กับหลักแห่ง จริยธรรม (Moral Principle) ที่ห้ามควบคุม และจัดการไม่ให้ Id ได้รับการตอบ สนองโดยไม่คำนึงถึงความผิดชอบชั่วดี โดยมี Ego เป็นตัวกลางที่ประสานการทำ งานของแรงผลักดันจาก Id และ Superego
โดยทั่วไปแล้ว Superego จะ เป็นเรื่องของการมีมโนธรรม (Conscience) ที่พัฒนามาจากการอบรมสั่งสอนของพ่อ แม่ หรือผู้อบรมเลี้ยงดู ซึ่งเป็นค่านิยมที่พ่อแม่ถ่ายทอดให้ลูกว่าสิ่งใดดี ควรประพฤติปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ส่วนนี้จะทำให้บุคคลเกิดความรู้สึก ผิด (Guilt Feeling) ที่จะติดตามรบกวนจิตใจของบุคคลเมื่อกระทำสิ่งใดที่ขัด ต่อมโนธรรมของตนเองและส่วนที่ เรียกว่าอุดมคติแห่งตน (Ego-Ideal) ที่พัฒนามาจากการเอาแบบอ ย่าง (Identification) จากบุคคลที่เคารพรักเช่น พ่อแม่ ผู้อบรมเลี้ยงดู และ คนใกล้ชิด ทำให้เด็กรับรู้ว่าทำสิ่งใดควรประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะได้รับการ ยอมรับและความชื่นชมยกย่องซึ่งทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ เมื่อได้ทำตามอุดมคติของตนบางส่วนของ Superego จะอยู่ในระดับจิตสำนึกและบาง ส่วนจะอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ฟรอยด์ ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ (Stage of Psychosexual Development) จาก ความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศในเด็กทารกที่แสดงออกมาในรูปพลังของ ลิบิ โด (Libido) และสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายและบริเวณ ที่พลังลิบิโดไปรวมอยู่เรียกว่า ที่ของความรู้สึกพึงพอใจ (Erogeneous Zone) เมื่อพลังลิบิโดไปอยู่ในส่วนใด ก็จะก่อให้เกิดความตึงเครียด (Tension) ขึ้นที่ส่วนนั้น วิธีการที่จะขจัด ความตึงเครียด ได้ก็โดยการเร้าหรือกระตุ้นส่วนนั้นอย่างเหมาะสม เพื่อทำให้ เกิดความพึงพอใจ (Gratification) บริเวณที่พลัง Libido เคลื่อนไปอยู่ส่วนใด ส่วนหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ หรือวัยต่างๆ ของบุคคล จะทำให้เกิดการ พัฒนาการไปตามขั้นตอนของวัยนั้นๆ ซึ่งฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออก เป็น 5 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นปาก (Oral Stage) เริ่ม ตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้ รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของ ตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูดนมแม่จึงเป็นความสุขและความพึงพอใจ ของเขาในขั้นนี้ ถ้าพ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิดให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม มี การดูแลเอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเต็มที่จะทำให้เด็ก เกิดความไว้ วางใจและความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองและสภาพแวดล้อม เนื่องจากเด็กวัยนี้ เริ่มพัฒนาความรักตัวเอง (Narcissism) แต่ถ้าเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่าง เหมาะสม เช่น ถูกปล่อยให้ร้องไห้เพราะหิวเป็นเวลานานๆ ไม่ได้รับประทานอาหาร ตามเวลาและไม่ได้รับการสัมผัสที่อบอุ่นหรือการแสดงความรักความอบอุ่นจากพ่อ แม่และผู้ใกล้ชิด จะทำให้เด็กพัฒนาความไม่ไว้วางใจ (Distrust) มีความรู้สึก ไม่ดีเกี่ยวกับตนเองและเกลียดชังสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดการยึด ติด (Fixatio) ของพัฒนาการในขั้นปาก พลัง Libido บางส่วนไม่ได้รับการเร้า อย่างเหมาะสม จะทำให้การยึดติดอยู่บริเวณปาก และไม่สามารถเคลื่อนที่ไปยัง ส่วนอื่นของร่างกายตามความเหมาะสมของการพัฒนาการในขั้นต่อไป ก่อให้เกิดความ ผิดปกติทางบุคลิกภาพในขั้นปาก และเมื่อบุคคลเข้าสู่วัยรุ่นบุคคลก็จะแสดงบุคลิกภาพที่ยึดติดในขั้นปากออกมา ในรูปของพฤติกรรมต่างๆ เช่น การติดสุรา ติดบุหรี่ ยาเสพติด ชอบขบเคี้ยวไม่หยุดปาก ชอบกินของคบเคี้ยวกรอบๆ กินอาหารแปลกๆ เช่น กินกุ้งเต้น หือ ชอบพูดจาเยาะเย้ยถากถาง ก้าวร้าว บ้าอำนาจ พูดจาใส่ร้ายป้ายสีได้โดยขาดความ ละอาย และชอบทำตัวให้เป็นจุดเด่นในสังคมโดยวิธีการใช้ปากหรือเสียงดังๆ เป็น ต้น
2. ขั้นทวาร (Anal Stage) เด็ก จะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร โดย ที่เด็กจะมีความพึงพอใจเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น หรือเร้าบริเวณทวารในระยะนี้ เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีความพึงพอใจกับความสามารถในการควบ คุมอวัยวะของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย กิจกรรมที่เด็กมีความสุขจะเกี่ยว ข้องกับการกลั้นอุจจาระ (Anal Retention) และการถ่าย อุจจาระ (Anal Expulsion) ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นในขั้นนี้คือ การฝึกหัด การขับถ่าย (Toilet) Training ดังนั้น ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความเอาใจ ใส่ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับเวลา และสถานที่โดยไม่ บังคับ หรือเข้มงวดและวางระเบียบมากเกินไป เพราะไม่เช่นนั้น เด็กจะเกิดความ รู้สึกไม่แน่ใจในความมีอิสระ และความสามารถในการบังคับอวัยวะของตนเอง ในขณะ เดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่จะปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามความพึงพอใจ ของเด็กโดยไม่สนใจให้การดูแลและฝึกหัดให้เด็กเรียนรู้การขับถ่ายที่เหมาะ สม ก็จะทำให้เด็กติดตรึงอยู่กับความต้องการของตนเอง ไม่พัฒนาการยอมรับจาก ผู้อื่น จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยา กฎเกณฑ์ และเจตคติของพ่อแม่ในการฝึกหัดการ ขับถ่ายของเด็ก จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมในขั้นทวาร เพราะถ้าสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับเด็กเป็นอย่างดีโดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับ การฝึกการขับถ่ายของเด็กจึงมีความสำคัญ ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมในขั้นทวาร เพราะถ้าสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่ กับเด็กเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับการฝึกการขับถ่าย จะทำให้เด็ก พัฒนาอารมณ์ที่มั่นคง เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง เป็นคนสงบเสงี่ยมอ่อน โยน แต่ถ้าเด็กเกิดการติดตรึงในขั้นตอนนี้ จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาบุคลิกภาพ ตามความเหมาะสม เช่น ถ้าเด็กพอใจกับการถ่ายอุจจาระมากเกินไป เมื่อโตขึ้นก็จะเป็นคนสุรุ่นสุร่าย แต่ถ้าเด็กพอใจกับการกลั้นอุจจาระไว้ไม่ ยอมขับถ่าย ก็จะเป็นคนขี้เหนียว ตระหนี่ หรือถ้าเด็กรู้สึกโกรธหรือ เกลียด พ่อแม่ที่เข้มงวดในเรื่องขับถ่ายก็จะทำให้เด็กมีนิสัยดื้อรั้น แต่ ถ้าพ่อแม่ควบคุมเรื่องความสะอาดมากเกินไป ก็จะกลายเป็นเจ้าระเบียบ จู้จี้ จุกจิก หรือถ้าพ่อแม่ที่เน้นการขับถ่ายตรงเวลา ไม่รู้จักยืดหยุ่นก็จะกลาย เป็นคนเข้มงวด ไม่ยืดหยุ่น แต่ถ้ายึดติดในขั้นนี้เป็นไปอย่างรุนแรง อาจทำ ให้เกิดเด็กมีบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น ชอบทำร้ายให้ผู้อื่นเจ็บปวด (Sadism) หรือการร่วมเพศด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นต้น
3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) เริ่ม ตั้งแต่ 3 – 5 ขวบ ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ โดยที่เด็ก เกิดความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ ที่ตนเองในระยะแรก ต่อมาในช่วง 4-5 ขวบ พลัง Libido บาง ส่วนจะเคลื่อนที่ออกจากตนเองไปรวมอยู่ที่พ่อแม่ ซึ่งเป็นเพศตรงข้ามกับ เด็ก ทำให้เด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา และเป็น ปรปักษ์กับพ่อ ในขณะที่เด็กหญิงจะรักใคร่และหวงแหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉาและ เป็นศัตรูกับแม่ ที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เป็นปมออดิพปุ ส (Oedipus Complex) ในเด็กชาย และปมอีเลคต้า (Electra Complex) ในเด็ก หญิง
ในขั้นนี้ นอกจากจะเกิด Oedipus Complex แล้ว เด็กชายจะเกิดความวิตกกังวลกลัวว่าจะถูกตัดอวัยวะ เพศ (Castration Anxiety) เพราะเด็กชายเริ่มมองเห็นความแตกต่างทางร่างกาย ของเพศชายและเพศหญิง ทำให้เด็กชายเกิด จินตนาการว่าเด็กหญิงก็มีองคชาต (Penis) แต่ถูกตัดไป จึงเกิดความกังวลไม่ อยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับตนเอง ทำให้เริ่มเรียนรู้อำนาจของพ่อที่มี เหนือเขา ความรู้สึกเกลียดชัง และเป็น ปรปักษ์กับพ่อ เพราะต้องการแย่งชิงความรักจากแม่ค่อยๆ หมดไป หันมาเป็นมิตร และเลียนแบบ (Identification) พ่อจึงเอา (Introject) บทบาททางเพศชายของพ่อ มาไว้ในตนเอง ทำให้ปรากฏการณ์ของ Oedipus Complex หายไป และเด็กจะเลียนแบบ บทบาทที่เหมาะสมตามเพศของตนเอง
ในระยะนี้ Superego ของ เด็กจะเริ่มพัฒนาจากการรับเอาค่านิยม คุณธรรมและบรรทัดฐานทางสังคมของพ่อแม่ มาไว้ในตัว ในขณะที่เด็กหญิง นอกจากจะเกิด Electra Complex แล้ว เด็กหญิงจะ เกิดความอิจฉาของ องคชาต (Penis Envy) ในเด็กชาย และรู้สึกต่ำต้อยที่ตนเองไม่มีองคชาตเหมือน เด็กชาย เมื่อเกิดปรากฏการณ์ Electra Complex แล้วเด็กหญิงจะรักใคร่และหวงแหนพ่อในที่เกลียดชังและรู้สึกว่าเป็นคู่แข่ง กับแม่ และเห็นว่าพ่อไม่สามารถให้องคชาตแก่ตนได้ จึงเกิดความรู้สึกว่าแม่ เป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตนเอง และแม่ไม่มีองคชาตเช่นกัน ทำให้รู้สึกว่า เป็นพวกเดียวกับแม่ หันมาเลียนแบบแม่ ทำให้ปมอีเลคตร้าหมดไป ในขณะที่ส่วน ของ Superego เริ่มพัฒนาขึ้น
ในขั้น นี้ ถ้าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นไปด้วยดี จะทำให้เด็กแสดงบทบาทที่เหมาะสม ตามเพศของตนเอง เมื่อโตขึ้นและมีเจตคติที่ดีในเรื่องเพศ แต่ถ้าพัฒนาการเป็น ไปอย่างไม่เหมาะสมแล้ว จะเกิดการติดตรึง ทำให้บุคลิกภาพผิดปกติไป เช่น ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่าง สมบูรณ์ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว(Impotence) ในเพศชาย และมีความรู้สึกเย็นชาเกี่ยวกับเรื่องเพศ (Frigidity) ในเพศ หญิง การรักร่วมเพศ (Homosexuality) หรือชอบอวดอวัยวะ เพศ (Exhibitionism) เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการพัฒนา บุคลิกภาพ พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูจะมีบทบาทสำคัญ ที่จะช่วยให้บทบาททางเพศของ เด็กเป็นไปด้วยดี พ่อแม่จึงไม่ควรตำหนิหรือเข้มงวดกับเด็กมากเกินไป เมื่อ เด็กจับต้องอวัยวะเพศของตน ในขณะเดียวกันเด็กควรได้รับชี้แจง และการสั่งสอน เรื่องเพศ ตามความเหมาะสมกับการอยากรู้อยากเห็นของเขา และพ่อแม่ควรทำให้ เป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงบทบาททางเพศ ให้ความรัก ความอบอุ่น และความเอาใจ ใส่แก่เด็ก มีเวลาใกล้ชิดกับเด็ก ซึ่งทำให้เด็กเรียนรู้ถึงสัมพันธภาพที่ดี ในการอยู่ร่วมกันระหว่างเพศเดียวกันและต่างเพศ การให้ข้อมูลทางเพศ ควรใช้ เหตุผลและค่านิยมของสังคมที่เหมาะสมในการอธิบายเพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดี ในเรื่องเพศแก่เด็ก ทำให้เด็กยอมรับความรู้สึกของตนเองและสามารถแสดงความ รู้สึกต่างๆ ออกมาได้เหมาะสม กับบทบาททางเพศ ตามบรรทัดฐานของสังคมต่อไป
4. ขั้นแฝง (Latency Stage) เริ่ม ตั้งแต่ อายุ 6 – 11 ปี ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วน หนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่อง เพศ และจินตนาการทางเพศ เด็กจะเริ่มมีชีวิตสังคมภายนอกบ้านมากขึ้นที่จะ เรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ ในโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวัย ดังกล่าว เด็กหากเด็กมีพัฒนาการในวัยต้นๆ อย่างเหมาะสม ในขั้นนี้ เด็กจะมี ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนกลุ่มเดียวกัน
5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage) เริ่ม จาก 12 ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่และ วัยชรา โดยมี Erogonous Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ (Genitel Area) เมื่อ เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งหญิงและชาย ต่างๆ กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายตนมีความสามารถในการสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการตามสัญชาตญาณทางเพศอย่าง รุนแรง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระในขณะเดียวกับก็ต้องการได้ รับความอบอุ่น และการดูแลเอาใจใส่ทางจิตใจจากพ่อแม่ เมื่อบุคคลมีวุฒิภาวะ ทางเพศอย่างสมบูรณ์แล้ว จะเกิดความพึงพอใจทางด้านเพศ มีการแสวงความสุขทาง เพศระหว่างชายหญิง บุคคลที่มีการพัฒนาการทางบุคลิกภาพอย่างปกติ ไม่มีการติด ตรึง ก็จะสามารถมีชีวิตทางสังคมที่ถูกต้องเหมาะสมคือมีครอบครัว และสามารถ แสดงบทบาททางเพศ และบทบาทของพ่อแม่ได้อย่างเหมาะสม
จะเห็นได้ว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพตามความเชื่อของ ฟรอยด์ จะมีความสัมพันธ์กับพลังลิบิโด (Libido) กับ ลักษณะทางชีวภาพของบุคคลที่จะนำไปสู่สภาวะทางสุขภาพจิต หากการพัฒนาการแต่ละ ขั้นเป็นไปด้วยความเหมาะสม ก็จะทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่ปกติ แต่ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นเกิดการติด ตรึง จะมีผลทำให้เกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพในรูปแบบต่าง เช่น โรคจิตหรือ โรคประสาทที่ถือว่า มีความแปรปรวนในทางบุคลิกภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตจะเป็นช่วงการสร้างพื้นฐานทางบุคลิกภาพของบุคคลประสบการณ์ที่ รุนแรง ที่เกิดขึ้นในระยะนี้อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อบุคลิกภาพของเด็กไปตลอด ชีวิต ซึ่งพ่อแม่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดบรรยากาศของการเลี้ยงดู ลูกๆ ให้เหมาะสมที่จะสร้างพื้นฐาน ทางบุคลิกภาพที่มั่นคง และเหมาะสมเพื่อให้เป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์อย่างเต็มที่
กลวิธานในการป้องกันตนเอง
ตามแนวคิด ของฟรอยด์เชื่อว่ากลวิธานในการป้องกันตนเองนั้นเป็นกลวิธีทั้งหมดที่อีโก้ ใช้ให้เป็นประโยชน์เมื่อต้องตกในสภาวะที่เกิดความขัดแย้งใจความคับข้องใจ ความวิตกกังวล ความตึงเครียด กลวิธานในการป้องกันตนเองนี้จะเป็นการทำงานในระดับของจิตไร้สำนึกที่แต่ละ บุคคลเข้าใจได้ยาก ซึ่งนักจิตวิเคราะห์เชื่อว่า การตัดสินใจที่สำคัญที่สุดในชีวิตของบุคคลนั้นบุคคลจะได้รับอิทธิพลมาจาก กลไกในระดับจิตไร้สำนึกของแต่ละบุคคลนั่นเอง เช่น การเลือกคบเพื่อน การ สร้างศัตรู การเลือกอาชีพ การยอมรับในค่านิยมต่างๆ และการมองภาพพจน์ของตน เองและคนอื่นๆ เป็นต้น
กลวิธานใน การป้องกันตัวเป็นลักษณะของการตอบสนองที่ค่อนข้างจะคงที่ทำให้บุคคลรับรู้ ผิดพลาดไปจากความเป็นจริงเนื่องจากว่าไม่มีความสามารถหรือทักษะหรือแรงจูงใจ ที่เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากภายใน หรือความขัดแย้งใจ ที่เกิดจากการถูกคุกคามความปลอดภัยจากภายนอก โดยที่บุคคลจะสร้างกลวิธานในการป้องกันตนเองขึ้นมานั้นเกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรกบุคคลมีความวิตกกังวลสูงมากในเรื่องหนึ่งเรื่องใดและอีโก้ ( ego ) หาวิธีลดหรือแก้ไขไม่ได้ด้วยวิธีการที่มีเหตุผลและประการที่สองอีโก้ไม่ สามารถประนีประนอมแรงขับระหว่างความต้องการของอิดและแรงหักห้ามของซุปเปอร์ อีโก้ได้ อีโก้จึงตกอยู่ในภาวะตึงเครียด จึงจำเป็นต้องหาวิธีการลดความตึง เครียด
ความวิตก กังวลกับการใช้กลวิธานในการป้องกันตน ความวิตกกังวลเกี่ยวข้องกับกลวิธานใน การป้องกันตนกล่าวคือ เมื่อมีความวิตกกังกลเกิดขึ้น วิธีการหนึ่งที่จะใช้ เพื่อลดความวิตกกังวลและทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่สมดุล ฟรอยด์เชื่อว่า เรื่องความวิตกกังวลเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้รับความพึงพอ ใจ มีความรู้สึกว่าตนเองไม่ปลอดภัย จะได้รับอันตรายจากสิ่งที่อยู่รอบตัวซึ่งฟรอยด์เชื่อว่าความวิตกกังวลนั้น เป็นผลมาจากการที่อีโก้ ( ego ) ไม่สามารถทำหน้าที่ประนีประนอม อิด( id ) และซุปเปอร์อีโก้(superego) ได้อย่างเหมาะสม จะทำให้บุคคลเกิดความวิตกกังวล ความคับข้องใจ
ความวิตกกังวล ( anxiety )
ความวิตักกังวล มี 3 ประเภท คือ ความ วิตกกังวลต่อสิ่งที่เป็นจริง ( objective anxiety or reality anxiety ) ความวิตกกังวลแบบโรคประสาท ( neurotic anxiety )และ ความวิตกกังวลเชิงศีลธรรม ( moral anxiety )
1. ความวิตกกังวลต่อสิ่งที่เป็นจริง เป็นความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวอันตรายจากภายนอกที่เผชิญอยู่จริงๆ
2. ความ วิตกกังวลแบบโรคประสาท เป็นความวิตกกังวลที่มีสาเหตุให้บุคคลแสดงอาการบางอย่างออกมา เนื่องจากกลัว การถูกลงโทษที่ไม่สามารถควบคุมพลังของสัญชาตญาณไว้ได้
3. ความ วิตกกังวลเชิงศีลธรรม เป็นความวิตกกังวลเมื่อเกิดขึ้นแล้ว และไม่สามารแก้ไข ได้ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ จะเป็นความวิตกกังวลที่กระทบกระเทือนจิตใจ อย่างรุนแรง บุคคลจะลดตัวลงมาสู่ภาวะเหมือนทารกที่ช่วยตนเองไม่ได้ เมื่ออี โก้ไม่สามารถจะต่อสู้กับความวิตกกังวล โดยวิธีการอันมีเหตุผลก็จำต้องถอย กลับไปใช้วิธีการอันไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เรียกว่า กลไกป้องกันตน
ความคับข้องใจ ( frustration )
เมื่อบุคคลมีปัญหาหรืออุปสรรคเกิดขึ้น บุคคลจะความรู้สึกคับข้องใจ (frustration) และ มีความวิตกกังวล ( anxiety ) บุคคลจึงพยายามหาวิธีลดความคับข้องใจโดยใช้กลวิธานในการป้องกันตน เอง (defense mechanism) ความคับข้องใจกับการใช้กลวิธานในการป้องกันตนเองจะทำให้ สถานการณ์ที่ทำให้เกิดความคับข้องใจเมื่อพิจารณาตามที่มา คือ จากภายนอกและภายในร่างกายของแต่ละบุคคลนั้นมีสาเหตุมาจาก 3 ประการคือ ความขาดแคลน ความสูญเสียและความขัดแย้ง โดยอธิบายสรุปคือ
1. ความขาดแคลน (privations)
1.1 ความขาดแคลนจากภายนอก (external privation) เป็น สถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากความต้องการ (needs) อยากได้ในสิ่งที่ ปกติแล้วจะสามารถหาได้จากโลกภายนอก แต่ในขณะนี้กลับพบว่าไม่มีสิ่งที่ต้อง การอยู่ในนั้น เช่น คนหิว แต่พบว่า ไม่มีอาหารตามที่ต้องการ
1.2 ความขาดแคลนจากภายใน (internal privation) เป็น สถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากบุคคลผู้นั้นขาดแคลนบางสิ่งบางอย่างที่ ควรจะมีในตนเองไป เช่น ชายคนหนึ่งไม่มีเสน่ห์ เพียงพอที่จะสร้างความพึงพอใจ ให้เกิดกับเพื่อนหญิงของเขา
2. ความสูญเสีย (deprivations)
2.1 ความสูญเสียจากภายนอก (external deprivation) เป็น สถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากการสูญเสียสิ่งของบางอย่าง หรือการตาย จากไปของบุคคลที่มีความผูกพันกันมาก่อน เช่น สามีสูญเสียภรรยาสุดที่รักตาย จากไป หรือบ้านที่เคยอาศัยมานานหลายปีถูกไฟไหม้ไป เป็นต้น
2.2 ความสูญเสียจากภายใน (internal deprivation) เป็น สถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากการสูญเสียที่ไม่เกี่ยวข้องกับสภาพแวด ล้อม แต่บุคคลถือว่าสิ่งที่สูญเสียไปนั้น เมื่อก่อนนี้เขามีอยู่และไม่ สามารถหลีกเลี่ยงความเคยชินกับสภาพเช่นนั้นได้ เช่น นาย ก. เคยไว้ผมยาว แต่ ต้องตัดทิ้งไป ทำให้เขาสูญเสียจุดเด่นในตัวเขาไป
3. ความขัดแย้ง (conflicts)
3.1 ความขัดแย้งจากภายนอก (external conflicts) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากความพิการทางร่างกายของตนและความพิการนั้นได้ขัดขวางพฤติกนนมตนเอง
3.2 ความขัดแย้งจากภายใน (internal conflicts) เป็น สถานการณ์ของความคับข้องใจอันเนื่องมาจากการยึดมั่นในคุณงามความดีซึ่งเป็น อุปสรรคขัดขวางไม่ให้พบบุคคลประสบความสำเร็จที่นำไปสู่ความพึงพอใจของตน
ความขัด แย้งทำให้บุคคลต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมรอบตัวทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัว บุคคล สิ่งของ และเหตุการณ์ สิ่งที่ดึงดูดใจย่อมทำให้เราอยากเข้าหาและเลือก สิ่งนั้น สิ่งใดไม่ดึงดูดใจหรือไม่ต่อสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดนั้น มิได้ขึ้น อยู่กับสิ่งนั้นหรือสถานการณ์นั้น แต่เกิดจากความรู้สึกและเจตคติของตนเอง ที่มีต่อสิ่งนั้นๆ
ความขัดแย้งมี 3 ประเภท ได้แก่
1. ความขัดแย้งชนิดบวก-บวก (approach- approach conflict) เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์หรือเป้าหมายหลายๆ อย่างดึงดูดใจ พร้อม ๆ กัน แต่เราจำเป็นต้องเลือกอันใดอันหนึ่ง
2. ความขัดแย้งชนิดลบ-ลบ (avoidance- avoidance conflict) เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์หรือเป้าหมายทั้งสองอย่างไม่ดึง ดูดใจ และต้องการหลบหลีก แต่จำเป็นต้องตัดสินใจเลือกอันใดอันหนึ่ง
3. ความขัดแย้งชนิดบวก-ลบ (approach- avoidance conflict) เกิดขึ้นจากสถานการณ์หรือเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งมีแรง ดึงดูดใจให้เข้าหากัน และแรงผลักดันให้หลีกเลี่ยงในเวลาเดียวกัน
การแก้ ปัญหาเมื่อเกิดความขัดแย้งคือ บุคคลมักอดทนกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หรือไม่ก็ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงความ ต้องการนั้นเสียใหม่ หรือใช้วิธีการหลอกตัวเองให้บังเกิดความสบายใจ ซึ่ง เป็นลักษณะของการใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง นิภา นิธยายน (2530 : 84)
กลวิธานในการป้องกันตนเอง ที่สำคัญ มี 2 ชนิด คือ
1. กล วิธานในการพัฒนาบุคลิกภาพ บุคลิกภาพพัฒนาเนื่องมาจากการตอบสนองความเครียดที่เกิดจากกระบวนการเจริญ เติบโตของร่างกาย ความคับข้องใจ ความขัดแย้งใจ และความหวาดหวั่น (threats) เมื่อ มีความเครียดเกิดขึ้น บุคคลจึงแสวงหาวิธีการที่จะลดความเครียด ทำให้ บุคลิกภาพเกิดการพัฒนาวิธีการที่บุคคลเรียนรู้ ได้แก่ การเลียน แบบ (identification) การย้ายแหล่งทดแทน (displacement) และการทด เทิด (sublimation)
2. กล วิธานในการป้องกันตนเองของอีโก้ บุคคลจะสร้างกลไกป้องกันตนเองขึ้นเมื่อไม่สามารถคลี่คลายความวิตกกังวลที่ กำลังคุกคามได้ กลไกป้องกันตนเองที่สำคัญ มี 5 ชนิด ได้แก่ การ เก็บกด (repression) การตรึงแน่น (fixation) การกล่าวโทษผู้ อื่น (projection) การถดถอย (regression) และการแสดงปฏิกิริยาตรง ข้าม (reaction formation)
จะเห็นได้ว่าความวิตกกังวล ความคับข้องใจ และความขัดแย้ง เป็นสภาวะที่ทำให้บุคคล
ต้องพบ อยู่เสมอดังนั้นกลวิธานในการป้องกันตนเอง มีไว้เพื่อรักษาสภาพจิตใจให้อยู่สภาวะสมดุลและสามารถรักษาสัมพันธภาพที่ดี กับบุคคลอื่นไว้ได้ด้วย
การพัฒนาบุคลิกภาพ
การพัฒนา บุคลิกภาพของตามแนวทฤษฎีนี้สิ่งสำคัญคือ ครอบครัว เป็นสถาบันทางสังคมแห่งแรกที่ทุกคนต้องเกี่ยวข้อง ชีวิตครอบครัวที่มีความ รักใคร่ ความกลมเกลียว และอบอุ่นมั่นคงในวัยเยาว์ย่อมเป็นรากฐานสำคัญของ บุคลิกภาพที่ดีในภายหน้า เด็กจะมีความมั่นคงในจิตใจ มีความไว้วางใจในผู้ อื่น มองโลกในแง่ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและเผชิญชีวิตด้วยความมั่น ใจ แต่ในทางตรงข้ามหากชีวิตเริ่มแรกได้รับแต่ประสบการณ์ซึ่งสร้างความรู้สึก หวาดระแวงและหวั่นกลัว ขาดผู้ให้ความรักและการอุ้มชู เด็กประเภทนี้มักจะมีพฤติกรรมโดดเดี่ยว พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนักจนถึงขั้นมีความผิดปกติทางจิตใจได้ในที่สุด
และบุคคลที่มีครอบครัวประเภทบ้านแตก (broken home) หมาย ถึง บิดาและหรือมารดาต้องจากเด็กไป จะด้วยการหย่าร้าง หรือความตายก็ ตาม เด็กย่อมได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก จากความสูญเสียบุคคลที่ตนรัก และยึดถือเป็นเจ้าของ ยิ่งถ้าฝ่ายที่ยังอยู่กับเด็กแสดงความรู้สึกหงุดหงิด ก้าวร้าวจะเกิดผลร้ายแก่จิตใจเด็กอย่างมากและเป็นแผลใจจนกระทั่งมาแสดงออก ตอนวัยรุ่น

ยาวมากเลย ตาลายอย่าว่ากันนะได้ความรู้ อิอิ
ขึ้นไปข้างบน Go down
DR_Pick
ท่านผู้อำนวยการ
ท่านผู้อำนวยการ
DR_Pick


จำนวนข้อความ : 485
หน่วยกิต : 1006019
ระดับชั้น : 0
Join date : 23/08/2009
: 30
ที่อยู่ : สยามประเทศ

ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud   ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud EmptyThu Oct 08, 2009 7:00 pm

ความรู้อัดแน่นมากกระทู้นี้

แต่แบบ เว้นๆ บ้างก็ดีนะคุณพี่อ่านอย่างยาก
ขึ้นไปข้างบน Go down
http://parp-rider.nsguru.com
ด.ช.เฉลิมชัย
เด็กเตรียมสอบขึ้น ม.ปลาย
เด็กเตรียมสอบขึ้น ม.ปลาย
ด.ช.เฉลิมชัย


จำนวนข้อความ : 168
หน่วยกิต : 5562
ระดับชั้น : 0
Join date : 25/08/2009
: 25
ที่อยู่ : เหตุผลคือหัวใจของกฎหมาย

ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud   ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud EmptyThu Oct 08, 2009 9:58 pm

ซิกมันด์ต้องคอมเปกาซัสแล้วแปะดาบ ตุ๋ยข้ามไลน์

ใครมันจะรู้เรื่องมั่งวะ 5555+
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
PARP-RIDER CENTRE :: คลังข่าวสาร :: ห้องสมุด อัพเดทข่าวแวดวง และความรู้แวดวงต่างๆ จ้า-
ไปที่: